การตลาด
สาขาวิชาการตลาด หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาด)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): บธ.บ. (การตลาด)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.B.A. (MARKETING)
รักษาการแทนประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด
075201700 ต่อ 52639
winyoo.w@psu.ac.th
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ทางด้านการตลาด ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและทางด้านปฏิบัติควบคู่กันได้อย่างเหมาะสมกับสภาพระบบนิเวศทางธุรกิจในปัจจุบัน จัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเพื่อให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในระดับสากล มีจริยธรรมและคุณธรรมที่ดีงาม เพื่อการยกระดับการพัฒนาภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด สามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ในตำแหน่งงานต่างๆ ดังนี้
(1) นักวางแผนกลยุทธ์การตลาด ได้แก่ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ ผู้จัดการแบรนด์ เจ้าหน้าที่การตลาด เจ้าหน้าที่การขาย เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ราคา เจ้าหน้าที่บริหารช่องทางการจัดจำหน่าย
(2) นักวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด ได้แก่ Marketing Analyst
(3) นักการตลาดดิจิทัล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดด้วยโซเชียลมีเดีย
(4) นักวางแผนการสื่อสารการตลาด ได้แก่ ผู้จัดการแคมเปญ นักวางแผนสื่อและประชาสัมพันธ์
ผู้ประกอบการอิสระ สตาร์ทอัพ
สาขาวิชาการตลาด หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
ชื่อปริญญา : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาด)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): บธ.บ. (การตลาด)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.B.A. (MARKETING)
รักษาการแทนประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด
075201700 ต่อ 52639
winyoo.w@psu.ac.th
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านหลักการและโครงสร้างของศาสตร์ทางธุรกิจ มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ทางด้านการตลาด รวมถึงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและทางด้านปฏิบัติควบคู่กันได้อย่างเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน และมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้ได้มาตรฐานสากล พร้อมทั้งนำความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศไปใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ มีจริยธรรมและคุณธรรมที่ดีงาม พร้อมนำความรู้ออกไปรับใช้สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด สามารถประกอบอาชีพ ได้หลากหลายทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ดังนี้ (1) ฝ่ายการตลาด (2) ฝ่ายดูแลสายผลิตภัณฑ์ (3) ฝ่ายตราสินค้า (4) ฝ่ายขาย (5) ฝ่ายวิจัยและพัฒนา (6) ฝ่ายการคลังสินค้า (7) ฝ่ายจัดซื้อ (8) ผู้ประกอบการธุรกิจ (9) นักวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ใหม่ (10) นักวิเคราะห์การตลาด (11) นักวิจัยตลาด (12) พนักงานจัดซื้อ (13) เจ้าหน้าที่บริหารงานขายและการตลาด (14) เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานอื่น ๆ ในภาครัฐและเอกชนและแสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไร ที่ต้องใช้บุคคลที่มีทักษะความสามารถในด้านการตลาด
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcome)
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
นักศึกษา รหัส 61-63 : แผนการศึกษา | คำอธิบายรายวิชา | คำอธิบายรายวิชาศึกษาทั่วไป
นักศึกษา รหัส 60 : แผนการศึกษา | คำอธิบายรายวิชา
นักศึกษา รหัส 55-59 : แผนการศึกษา | คำอธิบายรายวิชา