สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม
สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2569
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม)
ชื่อย่อ : บธ.บ. (การจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Business Administration (Tourism and Hotel Management)
ชื่อย่อ : B.B.A. (Tourism and Hotel Management)

ประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรมว
075201700 ต่อ 52632
wipada.t@psu.ac.th
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ คุณธรรมและจริยธรรม มีหลักวิชาการทางด้านบริหารธุรกิจ การท่องเที่ยว และการโรงแรมที่ถูกต้อง พร้อมปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงตามบริบทความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม และสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ด้วยตนเองตลอดชีวิต โดยจัดการศึกษาตามแนวทางการศึกษาแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome-based Education) เน้นกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้จากประสบการณ์ในสถานการณ์จริง ผ่านการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเรียนและการทำงาน (Work-Integrated Learning: WIL) และกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร
PLO 1 ปฏิบัติงานทางการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรมตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สถาน ประกอบการกำหนด
PLO 2 ออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวและการโรงแรม ภายใต้แนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับเป้าหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืน
PLO 3 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาตนเอง
PLO 4 สื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่สามเพื่อใช้ปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม
PLO 5 ปรับตัวและทำงานในบริบทความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม
PLO 6 แก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้บริการในธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม สามารถประกอบอาชีพในองค์กรของรัฐและเอกชน โดยมีตำแหน่งงานต่าง ๆ ดังนี้
- การทำงานในกลุ่มธุรกิจนำเที่ยว
1.1 ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว หรือตัวแทนการท่องเที่ยว
1.2 มัคคุเทศก์
1.3 ผู้นำเที่ยว
1.4 พนักงานปฏิบัติการในธุรกิจนำเที่ยว เช่น พนักงานวางแผนจัดนำเที่ยว พนักงานขายและการตลาด
- การทำงานในกลุ่มธุรกิจโรงแรม
2.1 ผู้บริหารระดับต้นในอุตสาหกรรมโรงแรม
2.2 พนักงานโรงแรมในแผนกต่าง ๆ เช่น พนักงานแผนกต้อนรับส่วนหน้า พนักงานแผนกอาหาร
และเครื่องดื่ม พนักงานแผนกแม่บ้าน พนักงานแผนกขายและการตลาด
- การทำงานในหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
3.1 เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น นักพัฒนาการท่องเที่ยว
3.2 เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาคเอกชนหรือองค์กรอิสระด้านการท่องเที่ยว
3.3 อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรทางวิชาการด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม
สำหรับนักศึกษารหัส 69 เป็นต้นไป
(1) ผลลัพธ์การเรียนรู้ (PLOs)
(2) โครงสร้างหลักสูตร
(3) แผนการศึกษา
(4) คำอธิบายรายวิชา
(5) ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) กลยุทธ์/วิธีการสอน และกลยุทธ์/วิธีการวัดและการประเมินผล)
รายละเอียดเพิ่มเติม