หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบศิลปะการแสดงและนวัตกรรม

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาการออกแบบศิลปะการแสดงและนวัตกรรม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565

ชื่อปริญญา : ศิลปศาสตรบัณฑิต (การออกแบบศิลปะการแสดงและนวัตกรรม) 
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): ศศ.บ. (การออกแบบศิลปะการแสดงและนวัตกรรม)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.A. (Performing  Arts Design and Innovation)

ดร.จุติกา โกศลเหมมณี

ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบศิลปะการแสดงและนวัตกรรม
075201700 ต่อ 52739
chutika.k@psu.ac.th

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สร้างสรรค์งานทางด้านศิลปะการแสดงอย่างมีคุณค่าและมูลค่าให้กับสังคมและประเทศชาติ พัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและสมรรถนะตรงตามความต้องการของ ตลาดแรงงานในการจัดการแสดงที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประชาคมอาเซียนและเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก ส่งเสริมการยกระดับศิลปะการแสดงของชาติให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากลในแนวทางการ พัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนาคุณภาพบุคลากรและการบริการวิชาการและสังคม ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ องค์การระหว่างประเทศ และหน่วยงานภาคเอกชนในการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการวิจัย

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้ดังนี้ (1) อาชีพอิสระทางการแสดง เช่น การเปิดโรงเรียนสอนการแสดง การเปิดโรงละครสำหรับจัดการแสดง การรับจัดงาน Event (2) งานด้านการศึกษาและการอบรม เช่น ครูอาจารย์ วิทยากรด้านศิลปะการแสดงและการพัฒนาบุคลิกภาพ ฯลฯ (3) งานด้านศิลปะการแสดง เช่น นักแสดง ผู้กำกับการแสดง ผู้เขียนบท ผู้กำกับเวที ผู้ออกแบบองค์ประกอบต่าง ๆ ในการแสดง ฯลฯ (4) งานด้านการผลิตและการจัดการการแสดง เช่น โปรดิวเซอร์ ผู้จัดการแสดง ผู้จัดอีเว้นท์ ผู้จัดการกองถ่าย ฯ

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาศิลปะการแสดงและการจัดการ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561

ชื่อปริญญา : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศิลปะการแสดงและการจัดการ) 
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): ศศ.บ. (ศิลปะการแสดงและการจัดการ)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.A. (Performing  Arts  and  Management)

ดร.จุติกา โกศลเหมมณี

ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดงและการจัดการ
075201700 ต่อ 52739
chutika.k@psu.ac.th

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สร้างสรรค์งานทางด้านศิลปะการแสดงอย่างมีคุณค่าและมูลค่าให้กับสังคมและประเทศชาติ พัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและสมรรถนะตรงตามความต้องการของ ตลาดแรงงานในการจัดการแสดงที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประชาคมอาเซียนและเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก ส่งเสริมการยกระดับศิลปะการแสดงของชาติให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากลในแนวทางการ พัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนาคุณภาพบุคลากรและการบริการวิชาการและสังคม ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ องค์การระหว่างประเทศ และหน่วยงานภาคเอกชนในการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการวิจัย

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปการแสดงและการจัดการ สามารถประกอบอาชีพได้ดังนี้ (1) อาชีพอิสระทางการแสดง  เช่น การเปิดโรงเรียนสอนการแสดง การเปิดโรงละครสำหรับจัดการแสดง การรับจัดงาน Event  (2) งานด้านการศึกษาและการอบรม เช่น ครูอาจารย์ วิทยากรด้านศิลปะการแสดงและการพัฒนาบุคลิกภาพ ฯลฯ  (3) งานด้านศิลปะการแสดง เช่น นักแสดง ผู้กำกับการแสดง ผู้เขียนบท ผู้กำกับเวที ผู้ออกแบบองค์ประกอบต่าง ๆ ในการแสดง ฯลฯ  (4) งานด้านการผลิตและการจัดการการแสดง เช่น โปรดิวเซอร์ ผู้จัดการแสดง  ผู้จัดอีเว้นท์ ผู้จัดการกองถ่าย ฯ

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561 สำหรับนักศึกษารหัส 61 – 64

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcome)

มาตรฐานผลการเรียนรู้หลักสูตร

นักศึกษา รหัส 61-64 : แผนการศึกษา   | คำอธิบายรายวิชา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดงและการจัดการ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561