You are currently viewing คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ ม.อ.ตรัง จัดโครงการ U2T for BCG ในตำบลบ้านควน ครั้งที่ 2

คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ ม.อ.ตรัง จัดโครงการ U2T for BCG ในตำบลบ้านควน ครั้งที่ 2

  • Post published:สิงหาคม 29, 2022

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ดร.นิพัฒน์ โพธิ์วิจิตร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤติยา ดวงมณี ประธานคณะทำงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG หรือ U2T for BCG ตำบลบ้านควน จังหวัดตรัง กล่าวเปิดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์และระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจหมุนเวียนในตำบลบ้านควน ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นโครงการภายใต้การสนับสนุนงบประมาณในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG หรือ U2T for BCG จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤติยา ดวงมณี หัวหน้าโครงการฯ กล่าวถึง กิจกรรมภายในโครงการ โดยการจัดโครงการ U2T for BCG ในพื้นที่ตำบลบ้านควน ครั้งที่ 2 มีกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการสู่ชุมชนใน 2 มิติ ได้แก่ มิติด้านสาระน่ารู้ต่อชุมชน โดย คุณปัญจะ ธนะเศวตร และคุณศุภกานต์ พยารัง ปราชญ์ชุมชน ซึ่งได้สาธิตและถ่ายทอดวิธีการทำไม้กวาดจากขวดพลาสติก ที่คว้ารางวัล Champion of พลังงานและวัสดุ ระดับภูมิภาคใต้ตอนบน เข้าสู่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ระดับประเทศ “U2T for BCG Hackathon 2022” ในช่วงเวลาที่ผ่านมา และมิติด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู ศรีเดช ภาควิชาเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณเอกพล ณ พัทลุง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน คุณไมตรี ซ่วนยุก รองปลัดการบริหารส่วนตำบลบ้านควน สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มอาสาพัฒนาหมู่บ้าน ภาคบัณฑิตและภาคประชาชนในโครงการฯ รวมถึงคณะกรรมการ เข้าร่วมกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ สามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดในมิติที่รองรับการท่องเที่ยว สินค้าและบริการตามมาตรฐาน โดยได้ร่วมผลิตสินค้าไม้กวาดจากขวดพลาสติกที่จะขยายไปยังกลุ่มในชุมชน และระดมแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มากกว่า 5 รายการ ที่จะเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านควนต่อไป